2007/06/09

Intel® Core™ 2 Extreme Quad-Core Processor QX6700






                
สวัสดีเพื่อนสมาชิกโอเวอร์คล๊อกโซนทุท่านครับ วันนี้ผม spin
9
กลับมาทักทายทุกท่านอีกครั้งกับเรื่องราวที่น่าสนใจครั้งใหญ่ส่งท้ายปลายปี
นั่นก็คือวันนี้ หรือ วันที่ 2 พฤศจิกายน 2549 ถือเป็นฤกษ์งามยามดีในการเปิดตัวซีพียู
"ควอด-คอร์" ตัวแรกของแพลทฟอร์มเดสก์ท็อปจากยักษ์ใหญ่อย่างอินเทล
หรือถ้าจะพูดให้ฟังดูน่าตื่นเต้นกว่านั้นก็คือ วันนี้เราจะได้เห็นซีพียูที่มีแกนประมวลผลมากถึง
4 แกน อันจะเป็นจุดเริ่มต้นของเทคโนโลยี มัลติ-คอร์ ในอนาคตนั่นเองครับ



                 
ย้อนกลับไปเมื่อกลางปีที่แล้วนี้เอง (กลางปี 2548) ผ่านไปเพียงราวๆ
หนึ่งปีเศษๆ กับจุดเริ่มต้นครั้งแรกสุดของซีพียู ดูอัล-คอร์
(Dual-Core Processor) ที่อินเทลได้ทำการเปิดตัวซีพียูดูอัล-คอร์ตัวแรกในชื่อของ
Intel
Pentium D Processor
พัฒนาเรื่อยมาถึงยุคของ Intel
Core 2 Duo Processor
ซึ่งก็ยังคงเป็นดูอัล-คอร์อยู่
(มีแกนประมวลผล 2 แกนในซีพียูตัวเดียว) และได้กลายเป็นมาตรฐานของซีพียูในปัจจุบันไปเป็นที่เรียบร้อย
ชนิดที่ว่าใครจะหาซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์เดสก์ท็อปซักเครื่องในปัจจุบัน
ก็ต้องมองหาซีพียูที่เป็นดูอัล-คอร์เอาไว้ก่อน เพราะเทคโนโลยีดูอัล-คอร์นั้น
ช่วยให้การประมวลผลและการใช้งานจริงของเครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน
มีประสิทธิภาพที่เพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด.. ชัดกว่าการเพิ่มความเร็วสัญญาณนาฬิกาหรือคล๊อกสปีด
ที่ในอดีตซีพียูได้แข่งขันกันทำคล๊อกสปีดให้สูงขึ้นเรื่อยๆ
จนเริ่มมาถึงทางตัน



How
can Intel achieve 10X performance over time?








                
จากการคาดการณ์ของอินเทล โดยใช้ซีพียู Intel Pentium 4 Processor
ในปี 2000 เป็นตัวยืนพื้นนั้น อินเทลได้คาดการณ์ว่า หากไม่มีการพัฒนาทางด้านมัลติ-คอร์
(การใช้แกนประมวลผลมากกว่าหนึ่งแกนในซีพียูตัวเดียว) อินเทลจะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพของซีพียูได้เพียง
3 เท่าตัว ในระยะเวลา 8 ปี (คาดการณ์ถึงปี 2008) แต่ถ้าอินเทลต้องการจะเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของซีพียูมากถึง
10 เท่าตัวนั้น วิธีเดียวที่จะทำได้ก็คือ การใช้เทคโนโลยี
ดูอัล-คอร์ หรือ มัลติ-คอร์เข้ามาช่วยนั่นเอง นี่จึงเป็นเหตุผลหลักที่อินเทลหันมาทุ่มเทพัฒนาซีพียูในระดับมัลติ-คอร์มากขึ้น
โดยค่อยๆ ลดความสำคัญของซีพียูในระดับซิงเกิล-คอร์ลงครับ
(ข้อมูลจากงาน Intel Developer Forum, Taiwan Fall 2006)


                
และวันนี้ 2 พฤศจิกายน 2549 ... จุดกำเนิดแห่งเทคโนโลยีมัลติ-คอร์อย่างแท้จริงก็ได้ถือกำเนิดขึ้น
กับซีพียูระดับ "ควอด-คอร์" ตัวแรกของแพลทฟอร์มเดสก์ท็อป
ที่มีแกนประมวลผลมากถึง 4 แกนในซีพียูตัวเดียว ภายใต้ชื่อของ
Intel Core 2 Extreme Quad-Core Processor QX6700 ... สุดยอดซีพียูในระดับเอ๊กซ์ตรีมตัวใหม่ของอินเทล
ที่วันนี้เราจะได้มาชมถึงเบื้องลึก พร้อมผลการทดสอบประสิทธิภาพอย่างละเอียดกันครับ


Introducing
the First Quad-Core Desktop Processor:

Intel Core 2 Extreme Quad-Core Processor
QX6700








                
อินเทล คอร์ 2 เอ๊กซ์ตรีม ควอด-คอร์ โปรเซสเซอร์ QX6700
ถือเป็นซีพียูเดสก์ท็อปรุ่นแรกของโลกที่มีแกนประมวลผล 4
แกนอยู่ในซีพียูตัวเดียวครับ ซึ่งก่อนที่จะไปดูถึงความแตกต่างและประสิทธิภาพของมันนั้น
ผมต้องขอทำความเข้าใจถึงสถาปัตยกรรมและที่มาที่ไปของเจ้า
QX6700 ตัวนี้เสียก่อน ว่าอินเทลพัฒนามันขึ้นมาได้อย่างไร
และซีพียูระดับควอด-คอร์จะเข้ามาอยู่ที่ตำแหน่งไหนในตลาดเดสก์ท็อปปัจจุบัน


                
อินเทล คอร์ 2 เอ๊กซ์ตรีม ควอด-คอร์ โปรเซสเซอร์ QX6700
มาในรหัสพัฒนา Kentsfield ซึ่งเป็นซีพียูที่มีพื้นฐานจากสถาปัตยกรรม
Core Microarchitecture ของอินเทลอยู่เหมือนกับซีพียูอินเทล
คอร์ 2 ดูโอ หรือรหัสพัฒนา Conroe ในปัจจุบันครับ ซึ่งแน่นอนว่า
มันจะยังคงมีฟีเจอร์ต่างๆ ที่อินเทล คอร์ 2 ดูโอ มีอย่างครบถ้วน
และเบื้องลึกที่น่ารู้ก็คือ เจ้า Kentsfield หรือซีพียูควอด-คอร์ตัวแรกจากอินเทลนี้
แท้จริงแล้ว ทางอินเทลได้นำเอาชิป Dual-Core จำนวนสองตัวเข้ามารวมกันไว้ภายใต้ซีพียูแพ็คเกจเดียวกัน
(ก็คือเอา Conroe สองตัวมาวางไว้คู่กัน เพื่อรวมดูอัล-คอร์สองตัว
ให้กลายเป็น 4 คอร์) และพัฒนาเทคโนโลยีในการติดต่อสื่อสารระหว่างแกนประมวลผลแต่ละแกน
เพื่อให้ระบบมองเห็นเป็น 4 คอร์นั่นเองครับ









ภายในซีพียู Intel Core 2 Extreme Quad-Core QX6700
นั้น ถ้าแกะฝา heatspreader ออกแล้ว เราก็จะมองเห็นแกนประมวลผลแยกออกเป็นสองแกนอย่างในภาพครับ
โดยแต่ละแกนประมวลผลที่เห็นนี้ ก็คือแกนประมวลผลที่มาจากคอร์
Conroe ที่ภายในเป็นดูอัล-คอร์นั่นเอง เมื่อดูอัล-คอร์สองชิปมาอยู่ด้วยกัน
ก็ทำให้ซีพียูตัวนี้มีแกนประมวลผลรวมมากถึง 4 แกน
หรือ ควอด-คอร์










                
ภาย die-shot ของซีพียู Kentsfield นั้น ยิ่งแสดงให้เห็นชัดเจนครับ
ว่ามันคือ Conroe จำนวน 2 ตัวมาวางคู่กัน ซึ่งตามสเป็คของ
Conroe แล้ว มันก็คือดูอัล-คอร์ที่มีแคชระดับสองอยู่ภายในมากถึง
4MB ดังนั้น เมื่อ Conroe สองตัวถูกนำมาวางคู่กัน ก็จะทำให้
Kentsfield มีแกนประมวลผลรวมแล้ว 4 แกน (2x Dual-Core) และมีแคชระดับสองรวมมากถึง
8MB (2x 4MB) นั่นเองครับ









                
ด้วยเหตุผลของสถาปัตยกรรมต่างๆ ที่กล่าวมา ก็น่าจะทำให้พอทราบกันดีนะครับ
ว่าแท้จริงแล้ว Kentsfield ยังคงเป็นซีพียูที่อยู่ภายใต้สถาปัตยกรรม
Core Microarchitecture อยู่เหมือนเดิม ดังนั้น การรองรับของเมนบอร์ดในชิปเซ็ทต่างๆ
ก็ยังคงเหมือนกับการรองรับซีพียู Conroe หรือ คอร์ 2 ดูโอ
นั่นเอง โดยชิปเซ็ทที่รองรับในเบื้องต้น หลักๆ แล้วก็จะเป็นชิปเซ็ทอินเทลตระกูล
965 Express และ 975X Express ซึ่งเมนบอร์ดบางรุ่น บางยี่ห้อ
ต้องอาศัย BIOS เวอร์ชันใหม่ มารองรับ เพื่อทำให้ระบบมองเห็นซีพียูครบถ้วนทั้ง
4 คอร์ และใช้งานมันได้อย่างเต็มประสิทธิภาพครับ


                
และวันนี้ สุดยอดซีพียูควอด-คอร์ตัวแรกของแพลทฟอร์มเดสก์ท็อปอย่าง
Intel Core 2 Extreme Quad-Core Processor QX6700 ก็อยู่ในมือผมเป็นที่เรียบร้อยครับ
ไปพบกับเรื่องราวของมันพร้อมประสิทธิภาพในการใช้งานจริงหลากหลายรูปแบบกันได้เลย

No comments: